ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักการและเหตุผล

อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนลดน้อยลงประชากรวัยแรงงานเป็นกลุ่มประชากรหลักในการสร้างผลผลิตและต้องดูแลกลุ่มประชากรวัยอื่นๆของประเทศดังนั้นทางภาครัฐควรมุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงานซึ่งสามารถบ่งบอกได้ถึงสภาวะสุขภาพของประชากรไทยรวมทั้งประเทศสถานะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรวัยแรงงานไทยอยู่ในช่วงอายุ 13-59 ปี ที่อยู่ในวัยแรงงานรวม ส่วนมากจะพบว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศ ส่วนใหญ่ของประชากรวัยแรงงาน (51-56%) จะทำงานภาคเกษตรกรรม ที่เหลือก็จะทำงานในภาคอุตสาหกรรม (16%) และภาคบริการ (12%) จากการสำรวจพบว่า 85% ของประชากรวัยแรงงานคิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ คือ ปัจจัยเรื่อง อายุ เพศ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และอาชีพ ปัญหาทางสุขภาพของกลุ่มคนอายุมาก ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อย ก็จะเป็นทางด้านอุบัติเหตุ และโรคเอดส์ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิตรถยนต์ และงานด้านต่างๆซึ่งทางภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะให้ความร่วมมือกันเพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางด้านนี้อย่างจิงจังเพื่อที่จะให้จะเทศไทยของเรามีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและเท่าทันนานาประเทศ

การเพิ่มของประชากรและอัตราวัยแรงงานลดลง



อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็ตามสามารถบอกได้ว่าประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษา ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยของเรานั้นจะต้องมีการพัฒนาประเทศในหลายๆด้านซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่คนและประเทศควบคู่กันโดยเฉพาะการพัฒนาคนซึ่งอัตราการเกิดของประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สงอายุเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนลดน้อยลงประชากรวัยแรงงานเป็นกลุ่มประชากรหลักในการสร้างผลผลิตและต้องดูแลกลุ่มประชากรวัยอื่นๆของประเทศดังนั้นเราควรมุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงานสามารถบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของประชากรไทยรวมทั้งประเทศสถานะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรวัยแรงงานไทยอยู่ในช่วงอายุ 13-59 ปี ที่อยู่ในวัยแรงงานรวม ซึ่งจะพบว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศ ส่วนใหญ่ของประชากรวัยแรงงาน (51-56%) ทำงานภาคเกษตรกรรม ที่เหลือทำงานในภาคอุตสาหกรรม (16%) และภาคบริการ (12%) จากการสำรวจพบว่า 85% ของประชากรวัยแรงงานคิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ คือ ปัจจัยเรื่อง อายุ เพศ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และอาชีพ ปัญหาทางสุขภาพของกลุ่มคนอายุมาก ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อย ก็จะเป็นทางด้านอุบัติเหตุ และโรคเอดส์ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิตรถยนต์ งานด้านต่างๆในประเทศเมื่อขาดประชากรวัยแรงงานในประเทศทางภาครัฐและภาคเอกชนก็จะต้องจ้างแรงงานจากต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดแรงานต่างด้าวหรือการรักลอบเข้ามาในประเทศไทยทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายซึ่งก่อให้จำนวนประชากรล้นประเทศ

การคาดประมาณประชากรของประเทศไทยจำแนกตามกลุ่มอายุ5ปีและเพศ พ.ศ.2542-2550




เปรียบเทียบการเกิดของประชากรปี 2542-2550


ดูจากภาพตารางด้านบนสามารถอธิบายได้ว่าจำนวนประชากรไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของประชากรเพศหญิงซึ่งมีจำจวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแต่แตกต่างจากเพศชายที่มีจำนวนลดน้อยลงเมื่อจำนวนเพศชายมีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านต่างๆตามมา เช่น ปัญหาด้านผลผลิตทางการเกษตรกรรมลดน้อยลงเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงานในการไถ หว่านเมล็ดพืช และ ปัญหาด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงานเพศชายเป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบทางด้านการผลิตรถยนต์หรือชิ้นส่วนประกอบด้านต่างๆที่ลดน้อยลงตามมาอาจทำให้ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้ช้าลงและส่งผลกระทบในด้านการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญเท่าทันกับต่างประเทศได้ช้าลงตามไปด้วย

การคาดคะเนอัตราการเกิดของประชากรเด็กของไทยอายุระหว่าง 0 – 4 ปี


จากจำนวนของเด็กที่เกิดเป็นผู้ชายต่อเด็กที่เกิดเป็นผู้หญิงซึ่งอัตราการเกิดของเด็กผู้ชายจะมีอัตราการเกิดที่ลดน้อยลงแต่อัตราการเกิดของเด็กผู้หญิงมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆสาเหตุมาจากเพศหญิงและเพศชายมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด และการแสดงออก เช่น เด็กผู้หญิงจะแสดงออกแบบนุ่มนวลเมื่อเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่นจะมีนิสัยรักการแต่ตัวจะแตกต่างไปจากเด็กผู้ชายมากเพราะเด็กผู้ชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะติดเพื่อนและมีนิสัยที่อยากรู้อยากลอง เช่น การสูบบุรี่ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และมีการแข่งรถกับกลุ่มเพื่อนๆ ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อถึงวัยแรงงานสาเหตุการตายสำคัญที่ทำให้ผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิงก็ได้แก่อุบัติเหตุ และความรุนแรงด้านต่างๆ เมื่อถึงวัยชราผู้ชายจะมีจำนวนที่ลดน้อยลงมากกว่าผู้หญิงในอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไปจะมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว สาเหตุพวกนี้ก็อาจเป็นปัจจัยหลักในการลดลงของประชากรเพศชายในทุกๆวัยก็เป็นได้ในปี2550มีการเกิดของเด็กน้อยกว่าทุกปีไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงแต่ชายเกิดน้อยกว่าหญิงประมานร้อยละ40%ในปีนี้มีชายเกิด 2083 คนและมีเด็กหญิงเกิด 2256 คน
ในปี 2542 เด็กผู้ชายมีการเกิดมากที่สุดในระยะ9ปีจำนวน 2290 คน
ในปี 2545 เด็กผู้หญิงมีการเกิดมาที่สุดในระยะ9ปีจำนวน 2432 คน

ตารางเปรียบเทียบประชากรชาย-หญิง ปี2550


จากตารางเปรียบเทียบประชากรชาย-หญิงในปี2550 สามารถอธิบายได้ว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ประชากรผู้หญิงจะมีจำนวนมากกว่าประชากรผู้ชายซึงอาจเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น
1.เมื่อประชากรวัยแรงงานชายมีจำนวนลดน้อยลงทำให้ประเทศไทยมีการหยุดชะงักไม่ว่าจะเป็นทางด้านการอุสาหกรรมในการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ส่วนทางด้านการเกษตรกรรมก็จะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน เมื่อขาดประชากรในวัยแรงงานก็จะส่งผลกระทบทางด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ช้าลง
2. เมื่อประชากรในวัยแรงงานมีจำนวนลดน้อยลงทางภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นจะต้องจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศซึ่งส่งผลกระทบได้หลายด้าน เช่น มีการลักลอบเข้ามาในประเทศโดยผิดกฎหมาย
3. เมื่อประชากรวัยแรงานในประเทศมีจำนวนลดน้อยลงการนำเข้าแรงงานชายจากต่างประเทศเพื่อทำงานที่ไม่อาจหาชายไทยทำได้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการแต่งงานข้ามชาติของหญิงไทยเพราะประชากรชายไทยในประเทศมีน้อยลงและอยากต่อการหาคู่ครอง
4. เมื่อจำนวนของประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงแต่ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ประชากรในวัยแรงงานที่เหลืออยู่นั้นในอนาคตประชากรวัยแรงงานพวกนี้จะต้องทำงานโดยมีผู้ช่วยที่ลดน้อยลงและมีภาระการเลี้ยงดูผู้ใหญ่หนักขึ้น

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุป

จากจำนวนประชากรของประไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ปริมาณความต้องการมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรไม่ว่าจะเป็นทางด้านของอาหาร ที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพอนามัย และด้านการศึกษา ส่งผลให้ประเทศไทยของเรานั้นจะต้องมีการพัฒนาประเทศในหลายๆด้านซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่คนเป็นหลักเพราะอัตราการเกิดของประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนที่จะลดน้อยลงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆตามมาไม่ว่าว่าจะเป็น ด้านการเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และ การบริการด้านต่างๆ สาเหตุที่ทำให้ประชากรในวัยแรงงานลดน้อยลงอาจเกิดจากความเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อยหรือกลุ่มวัยรุ่นก็จะเป็นปัญหาทางด้านอุบัติเหตุเนื่องจากขับขี่จักรยานยนต์ไม่ใส่หมวกกันน็อก ขับรถขณะมึนเมา และโรคเอดส์ ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนประชากรในวัยแรงงาน