ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักการและเหตุผล

อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนลดน้อยลงประชากรวัยแรงงานเป็นกลุ่มประชากรหลักในการสร้างผลผลิตและต้องดูแลกลุ่มประชากรวัยอื่นๆของประเทศดังนั้นทางภาครัฐควรมุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงานซึ่งสามารถบ่งบอกได้ถึงสภาวะสุขภาพของประชากรไทยรวมทั้งประเทศสถานะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรวัยแรงงานไทยอยู่ในช่วงอายุ 13-59 ปี ที่อยู่ในวัยแรงงานรวม ส่วนมากจะพบว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศ ส่วนใหญ่ของประชากรวัยแรงงาน (51-56%) จะทำงานภาคเกษตรกรรม ที่เหลือก็จะทำงานในภาคอุตสาหกรรม (16%) และภาคบริการ (12%) จากการสำรวจพบว่า 85% ของประชากรวัยแรงงานคิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ คือ ปัจจัยเรื่อง อายุ เพศ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และอาชีพ ปัญหาทางสุขภาพของกลุ่มคนอายุมาก ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อย ก็จะเป็นทางด้านอุบัติเหตุ และโรคเอดส์ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิตรถยนต์ และงานด้านต่างๆซึ่งทางภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะให้ความร่วมมือกันเพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางด้านนี้อย่างจิงจังเพื่อที่จะให้จะเทศไทยของเรามีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและเท่าทันนานาประเทศ

การเพิ่มของประชากรและอัตราวัยแรงงานลดลง



อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็ตามสามารถบอกได้ว่าประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษา ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยของเรานั้นจะต้องมีการพัฒนาประเทศในหลายๆด้านซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่คนและประเทศควบคู่กันโดยเฉพาะการพัฒนาคนซึ่งอัตราการเกิดของประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สงอายุเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนลดน้อยลงประชากรวัยแรงงานเป็นกลุ่มประชากรหลักในการสร้างผลผลิตและต้องดูแลกลุ่มประชากรวัยอื่นๆของประเทศดังนั้นเราควรมุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงานสามารถบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของประชากรไทยรวมทั้งประเทศสถานะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรวัยแรงงานไทยอยู่ในช่วงอายุ 13-59 ปี ที่อยู่ในวัยแรงงานรวม ซึ่งจะพบว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศ ส่วนใหญ่ของประชากรวัยแรงงาน (51-56%) ทำงานภาคเกษตรกรรม ที่เหลือทำงานในภาคอุตสาหกรรม (16%) และภาคบริการ (12%) จากการสำรวจพบว่า 85% ของประชากรวัยแรงงานคิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ คือ ปัจจัยเรื่อง อายุ เพศ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และอาชีพ ปัญหาทางสุขภาพของกลุ่มคนอายุมาก ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อย ก็จะเป็นทางด้านอุบัติเหตุ และโรคเอดส์ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิตรถยนต์ งานด้านต่างๆในประเทศเมื่อขาดประชากรวัยแรงงานในประเทศทางภาครัฐและภาคเอกชนก็จะต้องจ้างแรงงานจากต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดแรงานต่างด้าวหรือการรักลอบเข้ามาในประเทศไทยทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายซึ่งก่อให้จำนวนประชากรล้นประเทศ

การคาดประมาณประชากรของประเทศไทยจำแนกตามกลุ่มอายุ5ปีและเพศ พ.ศ.2542-2550




เปรียบเทียบการเกิดของประชากรปี 2542-2550


ดูจากภาพตารางด้านบนสามารถอธิบายได้ว่าจำนวนประชากรไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของประชากรเพศหญิงซึ่งมีจำจวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแต่แตกต่างจากเพศชายที่มีจำนวนลดน้อยลงเมื่อจำนวนเพศชายมีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านต่างๆตามมา เช่น ปัญหาด้านผลผลิตทางการเกษตรกรรมลดน้อยลงเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงานในการไถ หว่านเมล็ดพืช และ ปัญหาด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากขาดประชากรวัยแรงงานเพศชายเป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบทางด้านการผลิตรถยนต์หรือชิ้นส่วนประกอบด้านต่างๆที่ลดน้อยลงตามมาอาจทำให้ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้ช้าลงและส่งผลกระทบในด้านการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญเท่าทันกับต่างประเทศได้ช้าลงตามไปด้วย

การคาดคะเนอัตราการเกิดของประชากรเด็กของไทยอายุระหว่าง 0 – 4 ปี


จากจำนวนของเด็กที่เกิดเป็นผู้ชายต่อเด็กที่เกิดเป็นผู้หญิงซึ่งอัตราการเกิดของเด็กผู้ชายจะมีอัตราการเกิดที่ลดน้อยลงแต่อัตราการเกิดของเด็กผู้หญิงมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆสาเหตุมาจากเพศหญิงและเพศชายมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด และการแสดงออก เช่น เด็กผู้หญิงจะแสดงออกแบบนุ่มนวลเมื่อเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่นจะมีนิสัยรักการแต่ตัวจะแตกต่างไปจากเด็กผู้ชายมากเพราะเด็กผู้ชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะติดเพื่อนและมีนิสัยที่อยากรู้อยากลอง เช่น การสูบบุรี่ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และมีการแข่งรถกับกลุ่มเพื่อนๆ ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อถึงวัยแรงงานสาเหตุการตายสำคัญที่ทำให้ผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิงก็ได้แก่อุบัติเหตุ และความรุนแรงด้านต่างๆ เมื่อถึงวัยชราผู้ชายจะมีจำนวนที่ลดน้อยลงมากกว่าผู้หญิงในอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไปจะมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว สาเหตุพวกนี้ก็อาจเป็นปัจจัยหลักในการลดลงของประชากรเพศชายในทุกๆวัยก็เป็นได้ในปี2550มีการเกิดของเด็กน้อยกว่าทุกปีไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงแต่ชายเกิดน้อยกว่าหญิงประมานร้อยละ40%ในปีนี้มีชายเกิด 2083 คนและมีเด็กหญิงเกิด 2256 คน
ในปี 2542 เด็กผู้ชายมีการเกิดมากที่สุดในระยะ9ปีจำนวน 2290 คน
ในปี 2545 เด็กผู้หญิงมีการเกิดมาที่สุดในระยะ9ปีจำนวน 2432 คน

ตารางเปรียบเทียบประชากรชาย-หญิง ปี2550


จากตารางเปรียบเทียบประชากรชาย-หญิงในปี2550 สามารถอธิบายได้ว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ประชากรผู้หญิงจะมีจำนวนมากกว่าประชากรผู้ชายซึงอาจเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น
1.เมื่อประชากรวัยแรงงานชายมีจำนวนลดน้อยลงทำให้ประเทศไทยมีการหยุดชะงักไม่ว่าจะเป็นทางด้านการอุสาหกรรมในการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ส่วนทางด้านการเกษตรกรรมก็จะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน เมื่อขาดประชากรในวัยแรงงานก็จะส่งผลกระทบทางด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ช้าลง
2. เมื่อประชากรในวัยแรงงานมีจำนวนลดน้อยลงทางภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นจะต้องจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศซึ่งส่งผลกระทบได้หลายด้าน เช่น มีการลักลอบเข้ามาในประเทศโดยผิดกฎหมาย
3. เมื่อประชากรวัยแรงานในประเทศมีจำนวนลดน้อยลงการนำเข้าแรงงานชายจากต่างประเทศเพื่อทำงานที่ไม่อาจหาชายไทยทำได้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการแต่งงานข้ามชาติของหญิงไทยเพราะประชากรชายไทยในประเทศมีน้อยลงและอยากต่อการหาคู่ครอง
4. เมื่อจำนวนของประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงแต่ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ประชากรในวัยแรงงานที่เหลืออยู่นั้นในอนาคตประชากรวัยแรงงานพวกนี้จะต้องทำงานโดยมีผู้ช่วยที่ลดน้อยลงและมีภาระการเลี้ยงดูผู้ใหญ่หนักขึ้น

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุป

จากจำนวนประชากรของประไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ปริมาณความต้องการมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรไม่ว่าจะเป็นทางด้านของอาหาร ที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพอนามัย และด้านการศึกษา ส่งผลให้ประเทศไทยของเรานั้นจะต้องมีการพัฒนาประเทศในหลายๆด้านซึ่งจะต้องมุ่งเน้นไปที่คนเป็นหลักเพราะอัตราการเกิดของประชากรในประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและคนตายมีอัตราส่วนที่ลดน้อยลงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยของเรานั้นกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ และวัยทำงานก็มีอัตราส่วนที่จะลดน้อยลงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆตามมาไม่ว่าว่าจะเป็น ด้านการเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และ การบริการด้านต่างๆ สาเหตุที่ทำให้ประชากรในวัยแรงงานลดน้อยลงอาจเกิดจากความเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ส่วนปัญหาสุขภาพในกลุ่มคนอายุน้อยหรือกลุ่มวัยรุ่นก็จะเป็นปัญหาทางด้านอุบัติเหตุเนื่องจากขับขี่จักรยานยนต์ไม่ใส่หมวกกันน็อก ขับรถขณะมึนเมา และโรคเอดส์ ประเทศไทยของเรานั้นกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนประชากรในวัยแรงงาน

ข้อเสนอแนะ

1.ทางภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะร่วมมือกันเพื่อจะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านประชากรในวัยแรงงานมีจำนวนที่ลดน้อยลงเพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง
2.ทางภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชากรวัยแรงงานได้มีการไปตรวจสุขภาพทุกๆเดือนหรือสองเดือนเป็นอย่างต่ำ
3.ทางภาครัฐควรมีการจัดหางานให้กับผู้ที่ว่างานได้มีงานทำและเมื่อผู้ที่ไม่มีงานทำหรือตกงานทางภาครัฐควรให้เงินเดือนกับคนที่ว่างงานพวกนี้เพื่อให้พวกเขาได้มีเงินใช้ในช่วงที่ตกงาน
4.เมื่อประชากรในวัยผู้สูงอายุก็มีจำนวนมากทางภาครัฐควรที่จะหาแนวทางในการแก้ไขในด้านประชากรผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง
5.จัดหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆเพื่อให้ผู้สูงอายุไม่เหงาและรู้สึกว่าตนไม่มีประโยชน์และเป็นภาระแก่คนในครอบครัวและสังคม
6.ประชากรในวัยเด็กก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทางภาครัฐควรให้ความใส่ใจหรือให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวัยอื่นๆเพราะเด็กไทยในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลาดเหมือนสมัยก่อน
7.ทางภาครัฐควรส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนมีนมดื่มกันถึงม.3เพื่อพัฒนาการของเด็กในวัยเรียนจะได้ดีขึ้นและมีคุณภาพไม่น้อยหน้าประเทศอื่น
8.ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านทักษะในการกล้าพูด กล้าแสดงออกของเด็กในวัยเรียน

บรรณานุกรม

http://www.onec.go.th/publication/4220001/estimate_population.pdf
http://www.onec.go.th/publication/s_population/sum_population.htm

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

สถิติการเพิ่มและปัญหาผู้สูงอายุของไทย

หลักการและเหตุผล
วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงาน และทางสังคมวิทยา ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยและไม่ว่าจะเป็นปัญหาคนชราหรือผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งที่ขาดการดูแลและนับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเนื่องจากวัยชราเป็นวัยที่ต้องการการเอาใจใส่จากลูกหลานต้องการมีคนดูแลไม่อยากเป็นปัญหาและเป็นภาระของสังคม
ดังนั้นเราจึงเล็งเห็นว่าวัยชราเป็นวัยมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปีและเป็นกลุ่มที่สมควรจะได้รับการแก้ไขมากที่สุดเพราะถ้าเรามีการว่างมาตรฐานการดูแลและคุ้มครองผู้อายุที่ดีก็จะส่งผลดีต่อประชากรของประเทศไทยของเรามากขึ้น

ปัญหาการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุ




ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้นเหมือนดังเช่น ยายทองใบ บุนนาค วัย 66 ปี เดินทางมาจากจังหวัดเชียงรายกับสามีเข้ามาพักพิงสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ย้อนเล่าว่ามาอยู่กับสามีที่บ้านพักคนชราเมื่อปี 2539 ตอนนี้สามีเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน จึงต้องอยู่คนเดียว พยายามหาอะไรต่อมิอะไรทำไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ ถักเสื้อบ้าง ปลูกพืชผักสวนครัว อย่าง ผักหัวแหวน เผือก ตะไคร้หอม กระเจี๊ยบ สะระแหน่ โหระพา มะกูด ผักเสี้ยว ชะอม โสมเกาหลี มะเขือ น้อยหน่า ในบริเวณสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ซึ่งมีที่พักเป็นอาคารและบ้านพักส่วนตัว ตัวเองและสามีเลือกบ้านพัก จึงทำให้มีพื้นที่เล็กๆ ใช้ทำโน่นทำนี่เพื่อคลายความเหงาลง โดยไม่อยากนั่งนอนอยู่เฉยๆมาอยู่ที่บ้านบางแคทำให้ยายทองใบเห็นเหตุการณ์ที่ลูกหลานพาพ่อแม่มาทิ้งไว้หน้าบ้านพักคนชราบ้านบางแค ยายทองใบเล่าว่า…บ่อยครั้งที่ยายต้องจูงคนชราในวัยเดียวกันเข้ามากินข้าวหรือพามาพบกับเจ้าหน้าที่เนื่องจากลูกหลานเขาเอามาทิ้งไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านบางแค ยายจะแบ่งเงินซึ่งมีคนนำเงินมาบริจาคให้เขาได้ใช้บ้าง ทุกวันนี้คนในสังคมต้องเอาตัวรอด บางครอบครัวทิ้งพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูก สารพัดปัญหาซึ่งมาจากการเอาตัวรอดของคนในสังคม สำหรับตัวยายนั้นไม่มีลูก ยายไม่อยากเห็นผู้สูงอายุต้องเร่ร่อนหรือโดนทอดทิ้ง หากผู้สูงอายุมีลูกหลานก็อยากให้อยู่กับลูกหลาน ส่วนคนไหนที่ไม่มีที่ไปอยากให้พวกเขาได้อยู่เป็นหลักแหล่งเหมือนอย่างผู้สูงอายุบ้านบางแคฝ่าย นั่นเป็นเสียงสะท้อนของผู้สูงอายุบางส่วนเท่านั้นแต่ไม่ว่าผู้สูงอายุแต่ละคนจะมีเหตุผลของตัวเองอย่างไร ในการออกจากครอบครัวมาสู่สถานที่แห่งใหม่ หรือยังคงอยู่ในครอบครัวหากแต่อยู่คนเดียวโดยที่ลูกหลานไปทำงานและเรียนหนังสือ ปล่อยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตเพียงลำพัง ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้ของผู้สูงอายุในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีจำนวนสูงขึ้นๆจากงานวิจัยของ เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งทำวิจัยในหัวข้อนโยบายและทิศทางนโยบายด้านสุขภาพผู้สูงอายุในอนาคต มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สูงอายุดังนี้ผู้สูงอายุในประเทศไทย ถูกแบ่งให้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น มีอายุ 60 — 74 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย เริ่มตั้งแต่อายุ 75 ปีขึ้นไปและจากการศึกษาด้านนโยบายและการดูแลผู้สูงอายุจาก 5 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ประเทศเกาหลี ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ทำให้พบว่า จากวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำ ส่งผลไปถึงช่วงชีวิตของผู้สูงอายุยืนยาวขึ้น อัตราการตายลดลง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยนั้นจำนวนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันรายงานการวิจัยยังระบุอีกว่า ผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนเกือบ 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไปของประเทศไทยมีถึง 5.6 ล้านคนในปี 2543 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.3 ล้านคนในปี 2563 ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าอายุขัยของผู้สูงอายุที่เป็นชายเพิ่มเป็น 67.3 ปี และ 74 ปี ในผู้หญิง และจะเพิ่มต่อไปอีกเรื่อยๆ เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดถึงการดูแลตัวเองที่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ทั้งนี้จะพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในวัย 75 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุตอนปลายนั้น จะมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 ถึง 3 เท่าและอัตรานี้จะมีมากขึ้นตามอายุ ผู้หญิงวัยสูงอายุตอนปลายมีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหม้ายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะที่มีความเปราะบางสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการพึ่งพาต่อการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว มักจะมีโรครุมเร้า มีความบกพร่องทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการพึ่งพาตัวเองต่ำ มีอัตราอาการสมองเสื่อมใกล้เคียงกับผู้สูงอายุในประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 — 4 ซึ่งน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมจากประเทศเกาหลีซึ่งมีถึงร้อยละ 8.2 ในวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีอาการสมองเสื่อม และร้อยละ 4 เป็นกลุ่มที่มีภาวะรุนแรง ช่วยเหลือดูแลตัวเองไม่ได้สืบเนื่องจากการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ประกอบกับสังคมที่เปลี่ยนไปลูกหลานไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแล ผู้สูงอายุจากหลายๆ ประเทศมีปัญหาทางจิต แสดงอาการน้อยเนื้อต่ำใจด้วยการหนีออกจากบ้าน ทำร้ายตัวเอง สุดท้ายหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายอัตราการฆ่าตัวตายของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศฮ่องกง มี 28 รายต่อผู้สูงอายุ 100,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปจะมีประมาณ 12 รายต่อแสนคน ซึ่งต่ำกว่าสิงคโปร์ที่มีอัตราผู้สูงอายุฆ่าตัวตายถึง 50 รายต่อแสนคน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุ 20 รายต่อแสนคน ประเทศออสเตรเลีย 16 รายต่อแสนคน และประเทศนิวซีแลนด์ 12 รายต่อแสนคน ขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ส่วนประเทศไทยนั้นมีผู้สูงอายุที่หลีกหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย 17 คนต่อประชากรในกลุ่มเดียวกันแสนคนจะเห็นว่าจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นๆ ขณะช่วงวัยอื่นๆ กลับมีแนวโน้มลดลง จากสถิติผลการวิจัยของประเทศไทย ยังระบุว่าในปี พ.ศ. 2569 จำนวนผู้สูงอายุกับช่วงวัยเด็ก มีจำนวนเท่ากันและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ช่วงวัยเด็กมีจำนวนลดลง ส่วนช่วงวัยทำงานกลับมีอัตราการตายสูงขึ้นๆ ด้วยปัญหาโรคเอดส์หากเราปล่อยให้จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มคนในช่วงวัยอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง แล้วใครจะเป็นคนดูแล ช่วยเหลือ ปรนนิบัติ ผู้สูงอายุเหล่านั้น เมื่อจำนวนของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีศักยภาพในหลายด้านมีจำนวนลดน้อยลง ภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยว เร่ร่อนตามที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาช่วยกัน สร้างความเข้าใจ พร้อมไปกับร่วมแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยตลอดถึงสังคมโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ในวันวานของผู้สูงอายุเคยมีบทบาทกับชีวิตพวกเราหลายต่อหลายคน มาวันนี้บทบาทหลายเรื่องราวลดทอดลงด้วยหลายๆ เหตุผล หากยังปล่อยให้ปัญหาผู้สูงอายุถูกแก้อย่างไม่มีทิศทางเหมือนเช่นที่ผ่านมา ชีวิตของผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยคงมีเพียงอดีต หากแต่ปัจจุบันนั้นคงถูกฝังไปกับกาลเวลาที่ผ่านเข้ามาอย่างไม่มีหยุดมันลงได้





วันเวลาไม่เคยหมุนย้อนกลับ คงไม่ต่างอะไรกับอายุคนเรานับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย อีกทั้งอาจเป็นเพราะคนไทยเราดูแลสุขภาพกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่อายุสูงขึ้นก็ไม่ได้มีแต่ประโยชน์เสมอไป กลับน่าตกใจ เมื่อได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่เดียวดายเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเมื่อมีการสำรวจประชากรผู้สูงอายุ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 และล่าสุด ในปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 10.7 ของประชากรทั้งประเทศ และที่สำคัญคาดการว่าในปี 2553 และ 2563 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 และร้อยละ 15 ตามลำดับและที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในขณะที่ผู้สู่อายุทะลุหลัก 6,800,000 คน อย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี กลับยิ่งพบผู้สูงอายุซึ่งถูกทอดทิ้งมีจำนวนสูงถึงกว่า 4 แสนคน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกระแสทุนนิยม ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวให้กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวไป
ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 3.6 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 และข้อมูลล่าสุดในปี 2550 พบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวในครอบครัวตามลำพังร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญญา ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงอยู่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ความรู้สึกเหงา” สูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือปัญหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยจะเกิดมากที่สุดในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลานนอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านร่างกาย เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง อีกทั้งสังคมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกในทางลง มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม เกิดความสับสนทางอารมณ์ จิตใจ และความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน


คุณให้ความเข้าใจเค้าแค่ไหน







สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย































กราฟข้อมูลโดยรวม

เนื่องจากจำนานประชากรผู้สูงอายุของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2538-2553 ได้มีการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัดดูจากตัวเลขและอัตราการเพิ่มขึ้นโดยจะบ่งบอกได้ว่าอัตราการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุจะเป็นผู้หญิงที่เพิ่มมากกว่าผู้ชายถึงร้อยละ80%

ข้อมูลโดยรวมของแต่ละปีโดยรวมเมื่อนำมาเทียบกันแล้วนับวันยิ่งจะสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

วิเคราะห์ปัญหา

เนื่องจากภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ให้ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยวและทำให้เกิดปัญหาการเร่ร่อนตามที่ต่างๆ และภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆหากพวกเราทุกคนไม่สร้างความเข้าใจพร้อมร่วมมือกันแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยตลอดถึงสังคมโลกอย่างเช่นทุกวันนี้แต่ในสมัยก่อนผู้สูงอายุเคยมีบทบาทกับชีวิตพวกเราหลายต่อหลายคนแต่พอมาวันนี้บทบาทเรื่องราวเหล่านั้นกำลังลดทอนลงด้วยหลายๆ เหตุผล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ คือ ปัญหาเรื่องรายรับรายจ่ายของลูกหลานไม่พอใช้จ่าย ปู่ ย่า ตา ยาย จึงถูกมองว่าเป็นภาระจึงทำให้เกิดปัญหาการถูกทอดทิ้งผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาสังคม
สังคม คือ เมื่อสังคมเมืองเปลี่ยนไปการมีครอบครัวก็จะแยกย้ายต่างคนต่างไปเมื่อลูกๆแยกย้ายกันไปแล้วพ่อแม่ก็ต้องอยู่ตามลำพังพอต่างคนต่างมีความรับผิดชอบพ่อแม่ที่แก่เฒ่าก็จะถูกระเลย
วัฒนธรรม คือ เมือวัฒนธรรมเก่าๆถูกลบหายไปคนทันสมัยขึ้นก็จะเกิดการมองข้ามเรื่องวัฒนธรรมอันดีงามไปเหมือนเรื่อง บาป กรรม ก็ถูกมองว่าไรสาระต่างคนจึงไม่สนใจผู้เป็นพ่อแม่ที่แก่เฒ่า

สรุป

สำหรับประเทศไทยนั้นจำนวนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันรายงานการวิจัยยังระบุอีกว่า ผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนเกือบ 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไปของประเทศไทยมีถึง 5.6 ล้านคนในปี 2543 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.3 ล้านคนในปี 2563 ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าอายุขัยของผู้สูงอายุที่เป็นชายเพิ่มเป็น 67.3 ปี และ 74 ปี ในผู้หญิง และจะเพิ่มต่อไปอีกเรื่อยๆ เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดถึงการดูแลตัวเองที่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ทั้งนี้จะพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในวัย 75 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุตอนปลายนั้น จะมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 ถึง 3 เท่าและอัตรานี้จะมีมากขึ้นตามอายุ ผู้หญิงวัยสูงอายุตอนปลายมีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหม้ายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะที่มีความเปราะบางสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการพึ่งพาต่อการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว มักจะมีโรครุมเร้า มีความบกพร่องทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการพึ่งพาตัวเองต่ำ แล้วถ้าประชากรวัยทำงานและวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง แล้วใครจะเป็นคนดูแล ช่วยเหลือ ปรนนิบัติ ผู้สูงอายุเหล่านั้น เมื่อจำนวนของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีศักยภาพในหลายด้านมีจำนวนลดน้อยลง ภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยว เร่ร่อนตามที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาช่วยกัน สร้างความเข้าใจ พร้อมไปกับร่วมแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยทุกวันนี้

ข้อเสนอแนะ

เราควรหันมาสนใจ ผู้สูงอายุ โดยเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะในเวลาปกติหรือในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย พูดคุยและหาโอกาสพาไปผักผ่อน หากิจกรรมให้ทำในเวลาว่าง รวมทั้งสนับสนุนให้ได้รับการออกกำลังกายที่ถูกวิธี เพื่อเป็นการพัฒนาร่างกายควบคู่กันไป หากิจกรรมให้ทำร่วมกันในครอบครัว เพื่อการสร้างความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีแล้ว ยังจะกลายเป็นวัคซีน ที่ดีของสมาชิกทุกคนในครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย แนวทางในการแก้ไขปัญหาสถิติการเพิ่มและปัญหาผู้สูงอายุของไทยที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันมีดังนี้
1 จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเหงาและรู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์และเป็นภาระแก่คนในครอบครัวและสังคม
2 จัดกลุ่มอาชีพโดยให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ให้ความรู้แก่เยาวะชนและแม่บ้านเพื่อเป็นการสร้างรายได้และยังส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบต่อไปและยังสร้างประโยชน์ต่อสังคม
3 ให้รัฐบาลจัดงบประมาณกองทุนผู้สูงอายุเพื่อไว้ใช้ในการแก้ปัญหาผู้สูงอายุเพราะคิดว่าเงินผู้สูงอายุแค่เดือนละ 600 บาทดิฉันคิดว่าน้อยไปคงทำอะไรไม่ได้มากและแถมเงินยังออกไม่สม่ำเสมอ
4 จัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมด้วยเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและให้ผู้อายุมีส่วนร่วม
5 จัดให้มีหน่วยงานแพทย์อาสาออกมาตรวจสุขภาพประจำปีให้ผู้สูงอายุและให้มีการจัดอบรมการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพทุกวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ3-4วัน
6 จัดกลุ่มอาชีพเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุเพื่อลดปัญหาสังคม
7 ให้มีกฎหมายตั้งบทลงโทษผู้ที่ปล่อยผู้สูงอายุให้เร่ร่อนที่ทำความรุนแรงแก่ผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้นโดยการมีบทลงโทษโดยนี้ จำคุก5-10ปีหรือหรับตั้งแต่100000-500000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันนี้คุณกลับไปดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณแล้วหรือยัง!!!!!

บรรณานุกรม

( th.wikipedia.org/wiki/วัยสูงอายุ)
http://www.ryt9.com/s/prg/123734
แหล่งที่มา : การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2533-2563. กรุงเทพฯ: กองวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2538
งานวิจัยของ เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม
ณัฐภัทร ตุ้มภู่
http://www.thaihealth.or.th/ ข้อมูลจาก: หนังสือสุขสาร