ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุ




ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้นเหมือนดังเช่น ยายทองใบ บุนนาค วัย 66 ปี เดินทางมาจากจังหวัดเชียงรายกับสามีเข้ามาพักพิงสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ย้อนเล่าว่ามาอยู่กับสามีที่บ้านพักคนชราเมื่อปี 2539 ตอนนี้สามีเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน จึงต้องอยู่คนเดียว พยายามหาอะไรต่อมิอะไรทำไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ ถักเสื้อบ้าง ปลูกพืชผักสวนครัว อย่าง ผักหัวแหวน เผือก ตะไคร้หอม กระเจี๊ยบ สะระแหน่ โหระพา มะกูด ผักเสี้ยว ชะอม โสมเกาหลี มะเขือ น้อยหน่า ในบริเวณสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ซึ่งมีที่พักเป็นอาคารและบ้านพักส่วนตัว ตัวเองและสามีเลือกบ้านพัก จึงทำให้มีพื้นที่เล็กๆ ใช้ทำโน่นทำนี่เพื่อคลายความเหงาลง โดยไม่อยากนั่งนอนอยู่เฉยๆมาอยู่ที่บ้านบางแคทำให้ยายทองใบเห็นเหตุการณ์ที่ลูกหลานพาพ่อแม่มาทิ้งไว้หน้าบ้านพักคนชราบ้านบางแค ยายทองใบเล่าว่า…บ่อยครั้งที่ยายต้องจูงคนชราในวัยเดียวกันเข้ามากินข้าวหรือพามาพบกับเจ้าหน้าที่เนื่องจากลูกหลานเขาเอามาทิ้งไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านบางแค ยายจะแบ่งเงินซึ่งมีคนนำเงินมาบริจาคให้เขาได้ใช้บ้าง ทุกวันนี้คนในสังคมต้องเอาตัวรอด บางครอบครัวทิ้งพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูก สารพัดปัญหาซึ่งมาจากการเอาตัวรอดของคนในสังคม สำหรับตัวยายนั้นไม่มีลูก ยายไม่อยากเห็นผู้สูงอายุต้องเร่ร่อนหรือโดนทอดทิ้ง หากผู้สูงอายุมีลูกหลานก็อยากให้อยู่กับลูกหลาน ส่วนคนไหนที่ไม่มีที่ไปอยากให้พวกเขาได้อยู่เป็นหลักแหล่งเหมือนอย่างผู้สูงอายุบ้านบางแคฝ่าย นั่นเป็นเสียงสะท้อนของผู้สูงอายุบางส่วนเท่านั้นแต่ไม่ว่าผู้สูงอายุแต่ละคนจะมีเหตุผลของตัวเองอย่างไร ในการออกจากครอบครัวมาสู่สถานที่แห่งใหม่ หรือยังคงอยู่ในครอบครัวหากแต่อยู่คนเดียวโดยที่ลูกหลานไปทำงานและเรียนหนังสือ ปล่อยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตเพียงลำพัง ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้ของผู้สูงอายุในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีจำนวนสูงขึ้นๆจากงานวิจัยของ เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งทำวิจัยในหัวข้อนโยบายและทิศทางนโยบายด้านสุขภาพผู้สูงอายุในอนาคต มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สูงอายุดังนี้ผู้สูงอายุในประเทศไทย ถูกแบ่งให้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น มีอายุ 60 — 74 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย เริ่มตั้งแต่อายุ 75 ปีขึ้นไปและจากการศึกษาด้านนโยบายและการดูแลผู้สูงอายุจาก 5 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ประเทศเกาหลี ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ทำให้พบว่า จากวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำ ส่งผลไปถึงช่วงชีวิตของผู้สูงอายุยืนยาวขึ้น อัตราการตายลดลง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยนั้นจำนวนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันรายงานการวิจัยยังระบุอีกว่า ผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนเกือบ 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไปของประเทศไทยมีถึง 5.6 ล้านคนในปี 2543 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.3 ล้านคนในปี 2563 ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าอายุขัยของผู้สูงอายุที่เป็นชายเพิ่มเป็น 67.3 ปี และ 74 ปี ในผู้หญิง และจะเพิ่มต่อไปอีกเรื่อยๆ เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดถึงการดูแลตัวเองที่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ทั้งนี้จะพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในวัย 75 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุตอนปลายนั้น จะมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 ถึง 3 เท่าและอัตรานี้จะมีมากขึ้นตามอายุ ผู้หญิงวัยสูงอายุตอนปลายมีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหม้ายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะที่มีความเปราะบางสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการพึ่งพาต่อการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว มักจะมีโรครุมเร้า มีความบกพร่องทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการพึ่งพาตัวเองต่ำ มีอัตราอาการสมองเสื่อมใกล้เคียงกับผู้สูงอายุในประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 — 4 ซึ่งน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมจากประเทศเกาหลีซึ่งมีถึงร้อยละ 8.2 ในวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีอาการสมองเสื่อม และร้อยละ 4 เป็นกลุ่มที่มีภาวะรุนแรง ช่วยเหลือดูแลตัวเองไม่ได้สืบเนื่องจากการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ประกอบกับสังคมที่เปลี่ยนไปลูกหลานไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแล ผู้สูงอายุจากหลายๆ ประเทศมีปัญหาทางจิต แสดงอาการน้อยเนื้อต่ำใจด้วยการหนีออกจากบ้าน ทำร้ายตัวเอง สุดท้ายหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายอัตราการฆ่าตัวตายของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศฮ่องกง มี 28 รายต่อผู้สูงอายุ 100,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปจะมีประมาณ 12 รายต่อแสนคน ซึ่งต่ำกว่าสิงคโปร์ที่มีอัตราผู้สูงอายุฆ่าตัวตายถึง 50 รายต่อแสนคน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุ 20 รายต่อแสนคน ประเทศออสเตรเลีย 16 รายต่อแสนคน และประเทศนิวซีแลนด์ 12 รายต่อแสนคน ขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ส่วนประเทศไทยนั้นมีผู้สูงอายุที่หลีกหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย 17 คนต่อประชากรในกลุ่มเดียวกันแสนคนจะเห็นว่าจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นๆ ขณะช่วงวัยอื่นๆ กลับมีแนวโน้มลดลง จากสถิติผลการวิจัยของประเทศไทย ยังระบุว่าในปี พ.ศ. 2569 จำนวนผู้สูงอายุกับช่วงวัยเด็ก มีจำนวนเท่ากันและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ช่วงวัยเด็กมีจำนวนลดลง ส่วนช่วงวัยทำงานกลับมีอัตราการตายสูงขึ้นๆ ด้วยปัญหาโรคเอดส์หากเราปล่อยให้จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มคนในช่วงวัยอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง แล้วใครจะเป็นคนดูแล ช่วยเหลือ ปรนนิบัติ ผู้สูงอายุเหล่านั้น เมื่อจำนวนของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีศักยภาพในหลายด้านมีจำนวนลดน้อยลง ภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยว เร่ร่อนตามที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาช่วยกัน สร้างความเข้าใจ พร้อมไปกับร่วมแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยตลอดถึงสังคมโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ในวันวานของผู้สูงอายุเคยมีบทบาทกับชีวิตพวกเราหลายต่อหลายคน มาวันนี้บทบาทหลายเรื่องราวลดทอดลงด้วยหลายๆ เหตุผล หากยังปล่อยให้ปัญหาผู้สูงอายุถูกแก้อย่างไม่มีทิศทางเหมือนเช่นที่ผ่านมา ชีวิตของผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยคงมีเพียงอดีต หากแต่ปัจจุบันนั้นคงถูกฝังไปกับกาลเวลาที่ผ่านเข้ามาอย่างไม่มีหยุดมันลงได้





วันเวลาไม่เคยหมุนย้อนกลับ คงไม่ต่างอะไรกับอายุคนเรานับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย อีกทั้งอาจเป็นเพราะคนไทยเราดูแลสุขภาพกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่อายุสูงขึ้นก็ไม่ได้มีแต่ประโยชน์เสมอไป กลับน่าตกใจ เมื่อได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่เดียวดายเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเมื่อมีการสำรวจประชากรผู้สูงอายุ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 และล่าสุด ในปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 10.7 ของประชากรทั้งประเทศ และที่สำคัญคาดการว่าในปี 2553 และ 2563 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 และร้อยละ 15 ตามลำดับและที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในขณะที่ผู้สู่อายุทะลุหลัก 6,800,000 คน อย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี กลับยิ่งพบผู้สูงอายุซึ่งถูกทอดทิ้งมีจำนวนสูงถึงกว่า 4 แสนคน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกระแสทุนนิยม ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวให้กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวไป
ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 3.6 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 และข้อมูลล่าสุดในปี 2550 พบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวในครอบครัวตามลำพังร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญญา ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงอยู่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ความรู้สึกเหงา” สูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือปัญหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยจะเกิดมากที่สุดในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลานนอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านร่างกาย เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง อีกทั้งสังคมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกในทางลง มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม เกิดความสับสนทางอารมณ์ จิตใจ และความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน


คุณให้ความเข้าใจเค้าแค่ไหน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น